ปิ่นโตถวายพระ หมายถึง ภาชนะสำหรับบรรจุอาหารถวายพระ
ตามยุคสมัยเปลี่ยนไปให้ทันยุคทันสมัยของปัจจุบันเพื่อความสะดวก รวดเร็ว ประหยัด และปลอดภัย ยังไม่พอแต่แพคเกจสวยสะอาดแล้วดียังไม่พอ ควรจะนึกถึงการทำบุญเพื่อเสริมสิริมงคลแก่คนที่ถวายด้วย สำหรับบางคนที่มีเวลาน้อยจะเลือกทำบุญตามวันเกิดของตัวเอง ฉะนั้นอาหารที่จะใส่ในปิ่นโตถวายพระตามวันเกิดควรเป็นอาหารประเภทไหน
อาหารถวายพระตามวันเกิด
อาหารสำหรับคนที่เกิดวันอาทิตย์
คนที่เกิดวันอาทิตย์ควรถวายอาหารจำพวกไข่ เช่น ไข่ต้ม ไข่ดาว ไข่เจียว แกงที่เป็นกะทิ และขนมจากกะทิต่างๆ การถวายอาหารที่กล่าวไป จะช่วยเสริมสิริมงคลให้กับตนเอง
อาหารสำหรับคนที่เกิดวันจันทร์
คนที่เกิดวันจันทร์ควรถวายอาหารที่มีส่วนประกอบของเนื้อไก่ เช่น ข้าวมันไก่ ไก่ย่าง ไก่ผัดพริกขิง ไก่ทอด และนมสด น้ำเต้าหู้ ตามความเชื่อการถวายปิ่นโตถวายพระที่มีอาหารจำพวกเนื้อไก่และนมจะช่วยให้ลดความวิตกกังวลให้แก่คนที่ถวาย
อาหารสำหรับคนที่เกิดวันอังคาร
คนที่เกิดวันอังคารควรถวายอาหารที่มีเส้น อาทิ ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน และส่วนองขนมหวานจะเป็น ฝอยทอง ซ่าหริ่ม ลอดช่อง ในความเชื่อของอาหารที่เป็นเส้นจะช่วยในส่วนของการควบคุมอารมณ์ ทำให้จิตใจสงบ และอารมณ์ดี
อาหารสำหรับคนที่เกิดวันพุธ
คนที่เกิดวันพุธควรถวายอาหารที่มีสีเขียว เช่น ผักผลไม้ที่มีสีเขียว อาทิ ผัดผักคะน้า แกงเขียวหวาน ชะอมชุปไข่ ฝรั่ง มะม่วง โดยการนำอาหารปิ่นโตถวายพระที่มีสีเขียวจะช่วยเสริมในส่วนของความมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ และความเจริญก้าวหน้า
อาหารสำหรับคนที่เกิดวันพฤหัสบดี
คนที่เกิดวันพฤหัสบดีควรถวายอาหารที่เป็นพืชผัก เช่น ผัดบวบ ผัดฟัก แตงโม แตงไทย ส้ม โดยการนำอาหารปิ่นโตถวายพระที่เป็นพืชผักจะช่วยเสริมสิริมงคลในเรื่องอำนาจวาสนา
อาหารสำหรับคนที่เกิดวันศุกร์
คนที่เกิดวันศุกร์ควรถวายอาหารที่มีกลิ่นหอม เช่น ข้าวหอมมะลิ ไข่เจียวหอมใหญ่ เค้กกล้วยหอม
น้ำมะพร้าวน้ำหอม การถวายอาหารที่มีกลิ่นหอมจะช่วยในการเงินและมีผู้อุปถัมภ์
อาหารสำหรับคนที่เกิดวันเสาร์
คนที่เกิดวันเสาร์ควรจะถวายอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น มะระยัดไส้ แกงส้มมะรุม แกงเลียง และมะละกอ เพราะในความเชื่อของการถวายปิ่นโตอาหารพระที่ดีต่อสุขภาพจะช่วยในส่วนของสุขภาพร่างกายแก่คนที่ถวาย
อย่างไรก็ตาม การใส่บาตรนอกจากจะได้บุญแล้วยังดีต่อใจและดีต่อสุขภาพ โดยปกติชาวพุทธจะนิยมทำบุญกันในวันหยุดหรือขึ้นบ้านใหม่และการทำบุญบริษัท การทำบุญถวายภัตตาหารพระสงฆ์นั้น เพื่อเป็นสิริมงคลในทุกเทศกาล ดังนั้นอาหารที่จะใส่ในปิ่นโตถวายพระจึงสำคัญ โดยวัตถุดิบที่จะทำออกมาเพื่อใส่ในปิ่นโตถวายพระจะต้องปลอดภัย และดีต่อสุขภาพ
โดยในปัจจุบันนั้นเราไม่สามารถเตรียมอาหารถวายพระได้ ทั้งเวลาที่จำกัด และการเตรียมวัตถุดิบนั้นยุ่งยาก คนส่วนมากในปัจจุบันจึงเลือกที่จะซื้อปิ่นโตถวายพระ เพราะการเลือกใช้ปิ่นโตดีกว่าการใช้ถุงพลาสติก
ข้อควรรู้ก่อนถวายภัตตาหารพระสงฆ์จะเป็นถวายเช้าถวายเพลหรือปิ่นโตถวายพระ
- กรณีที่ปิ่นโตถวายพระเป็นอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ จะต้องเป็นในส่วนของเนื้อสัตว์ที่ภิกษุสงฆ์ไม่รู้ว่าเราตั้งใจฆ่าเพื่อมาถวายพระสงฆ์ เพราะฉะนั้นเราจะต้องไม่แจ้งพระสงฆ์ก่อนถวายท่าน เช่น ลาบเนื้อ หรือแกง ไม่ควรแจ้งให้พระสงฆ์ทราบล่วงหน้าเพราะพระจะไม่สามารถฉันได้ และทำให้พระสงฆ์อาบัติ
- โดยปกติแล้วพระภิกษุสงฆ์ไม่สามารถเลือกฉันได้ แต่ในกรณีที่พระภิกษุสงฆ์อาพาลสามารถระบุอาหารที่จะต้องการกับญาติที่เป็นสายเลือดเดียวกันได้
- . ภิกษุสงฆ์ห้ามฉันเนื้อต้องห้ามทั้ง 10 อย่าง โดยจะมีดังนี้ เนื้อมนุษย์ เนื้อช้าง เนื้อม้า เนื้อสุนัขบ้าน เนื้องู เนื้อราชสีห์ เนื้อเสือโคร่ง เนื้อเสือดาว เนื้อหมี และเนื้อสุนัขป่า
- ผลไม้มีเมล็ดที่ถวายพระ จะต้องทำให้เกิดตำหนิก่อน หยิกหรือใช้มีดทำลายหรือว่ากรีด เช่น น้อยหน่า แอปเปิล แตงโม จะต้องเปิดหรือผ่าก่อนนำถวายพระ
- น้ำปานะเรียกว่า ยามะกาลิ จะต้องทำจากใบพืช ทำจากผลไม้ ที่เป็นผลไม้เล็ก โดยห้ามใช้ไฟในการทำให้สุก ห้ามเติมน้ำตาล น้ำผึ้ง เนย หรือมีส่วนผสมของนม ข้าว และถั่ว ข้อสำคัญคือห้ามมีส่วนผสมของผักเพราะจะนับเป็นอาหาร ยกเว้นผักที่มีสรรพคุณทางยา
- เนย น้ำพืช น้ำมัน และเนยข้น เป็นอาหารที่พระสงฆ์สามารถเก็บไว้ฉันได้ เพียง 7 วันเท่านั้น
- อาหารที่มีสรรพคุณทางยาเป็นหลัก และเป็นอาหารที่ไม่ได้กินเพื่ออิ่มแต่ไม่มีส่วนผสมของน้ำตาล นม น้ำมัน หรือเนย นับเป็นยาวชีวิกที่พระสงฆ์ฉันได้ตลอดเวลาและเก็บไว้ได้ตลอดชีวิต อาทิ พริกไทย น้ำขิง เกลือ มะนาว เป็นยาวชีวิกที่พระสงฆ์สามารถเก็บไว้ได้ตลอดไม่อาบัติ พระสามารถฉันมะขามป้อนฉันสมอได้หลังเที่ยง เพราะสิ่งเหล่านี้เชื่อว่ามีสรรพคุณทางยา แม้ว่าจะเป็นผักก็ตาม ทว่ายานั้นมีส่วนผสมของอาหารประเภทสัปปายะสามารถเก็บไว้เพียง 7 วัน เท่านั้น เช่น น้ำขิงผสมน้ำผึ้ง น้ำขิงเป็นยาวชีวิตก็ตามแต่ว่ามีน้ำผึ้งซึ่งเป็นสัตตาหกาลิกผสมเข้าไปก็จะอยู่ได้เพียง 7 วัน
ทั้งนี้ทั้งนั้น หลักข้อปฏิบัติต่างๆของสำนักสงฆ์ของแต่ละที่พักสงฆ์ อาสงฆ์หรือวัดนั้นๆ มีข้อปฏิบัติที่แตกต่างกันอย่างไรก็สามารถยืดหยุนได้ตามหลักปฏิบัติของสถานที่นั้นๆ ถ้าเรารู้ว่าอะไรควรถวายอะไรไม่ควรถวายจะเป็นบุญทางใจและไม่มีเจตนาทำให้พระสงฆ์อาบัติไปด้วย
นอกจากเราให้ความสำคัญในอาหารที่เลือกใส่ในปิ่นโตถวายพระ การเลือกใช้ปิ่นโตถวายพระนั้นยังช่วยลดปริมาณขยะด้วย ซึ่งเมนูที่ดีต่อสุขภาพพระภิกษุ มีให้เลือกหลากหลาย
เมนูที่แนะนำในปิ่นโตถวายพระ
เมนูที่แนะนำในปิ่นโตถวายพระ เช่น แกงส้ม เพราะถือว่าเป็นอีกเมนูที่ดีต่อสุขภาพของภิกษุสงฆ์ เพราะวัตถุดิบหาง่าย และยังทำง่าย มีประโยชน์ไขมันต่ำ ไฟเบอร์สูง มีกากใย ที่สำคัญยังมีสมุนไพรในตัวพริกแกงอีกด้วย ถือว่าเป็นเมนูสุขภาพ สามารถเติมผักได้หลายชนิด เติมเนื้อสัตว์ได้ โดยเนื้อสัตว์ที่นิยม จะเป็น ปลาและกุ้ง สมุนไพรในตัวพริกแกงช่วยขับเหงื่อ ช่วยย่อย บรรเทาอาการไข้หวัด การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น
อาหารดีต่อสุขภาพแล้ว ภาชนะที่ใส่ก็ควรเลือกที่ดีต่อสุขภาพด้วย ช่วยลดขยะ สะดวก และกำลังเป็นที่นิยมในยุคปัจจุบัน คือปิ่นโต จะเห็นได้ว่ายุคนี้มีร้านรับทำอาหารปิ่นโตถวายพระให้เราได้เลือกมากมาย ถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีให้สำหรับคนที่ไม่มีเวลาจัดเตรียมจัดทำเกี่ยวกับการทำปิ่นโตถวายพระ ช่วยให้การทำบุญสะดวกขึ้น
สรุป เรื่องปิ่นโตถวายพระ
จากที่กล่าวมาทำให้เห็นว่าถึงยุคสมัยจะเปลี่ยนไป คนไทยก็ยังนิยมทำบุญเพื่อเสริมสิริมงคลของตนเองการเลือกใส่ภาชนะก็เปลี่ยนไปตามยุคสมัยหลากหลายเพื่อให้สะดวก รวดเร็ว ซึ่งในปัจจุบันก็ยังนิยมใช้ปิ่นโตถวายพระ