fbpx

อาหารถวายพระเพลเป็นช่วงเวลาที่คนไทยนิยมใช้บริการ

อาหารถวายพระเพล

อาหารถวายพระเพลที่ชาวพุทธใช้ทำพิธีกรรมทางศาสนา

 

อาหารถวายพระเพลไม่ว่าจะจัดงานอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาหรือเทศกาลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ปัจจัยหลักเลยก็เพื่อความเป็นสิริมงคลหรือเป็นพิธีที่ทำกันต่อ ๆ กันมา เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคลให้กับชีวิตตามความเชื่อของคนนับถือศาสนาพุทธ

อาหารถวายพระเพล

อาหารถวายพระเพลสำรับภัตตาคารของพระสงฆ์ในงานต่าง ๆ

อาหารถวายพระสงฆ์ เป็นปัจจัยสำหรับในการใช้ในทำบุญในงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา หรือหรือทำเทศกาลต่าง ๆ ที่สำคัญ คือการนิมนต์พระเชิญมาฉันภัตตาหารในสถานที่จัดงานนั้น ๆ จัดเป็น ทานมัยบุญ บุญที่เกิดจากการถวายทาน คือ การถวายอาหาร ปัจจัย ไทยธรรม แด่พระสงฆ์ เป็นพิธีที่คนส่วนใหญ่ในโอกาสต่าง ๆ หรือ โอกาสที่เป็นมงคลต่าง ๆ เพื่อประสงค์ให้ชีวิตพบเจอแต่สิ่งดี ๆ ที่เข้ามาในชีวิต พ้นโรคภัยไข้เจ็บ ตามความเชื่อของศาสนาพุทธ การถวายภัตตาหารพระ แบ่งเป็นส่วนช่วงเวลา 2 ช่วง ถวายอาหารพระเช้า และ ถวายอาหารพระเพล แต่วันนี้ทางเราจะพูดถึงอาหารถวายพระเพล ที่จะใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ แต่ขึ้นอยู่กับทางเจ้าภาพเป็นนิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธี สามารถทำที่วัดหรือที่บ้านแล้วต่ทางเจ้าภาพเห็นชอบ เวลาเลี้ยงพระเพล คือเวลาก่อนเที่ยง อยู่ช่วงเวลา 10.00 น. เป็นต้นไป แต่ต้องไม่เกินเที่ยง หากเกินแล้วจะไม่ใช่เป็นเวลาที่จะถวายอาหารถวายพระเพล และหลังจากเวลานี้ไปพระไม่สามารถฉันอะไรได้แล้วอาหารถวายพระเพลที่ทางเราคิดว่าเป็นผลดีต่อพระสงฆ์

1,ประเภทข้าว ควรเลือกถวายข้าวกล้อง เนื่องจากข้าวหรือคาร์โบไฮเดรตทั้งหลายนั้นจะกลายเป็นน้ำตาลเมื่อถูกย่อยเพราะฉะนั้นเวลาใส่บาตรหรือถวายข้าวควรเป็นข้าวกล้องจะดีที่สุด

2,ประเภทเนื้อสัตว์ ควรเน้นเนื้อปลาหรือเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมันเนื่องจากเนื้อปลามีโปรตีนที่ย่อยง่ายและมีไขมันต่ำ และควรระมัดระวังอาหารประเภทไข่แก่พระสงฆ์ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง

3.ประเภทผลไม้ อาจเป็นผลไม้ตามฤดูกาลที่มีรสชาติไม่หวานจนเกินไป มีใยอาหารช่วยในการชะลอการดูดซึมน้ำตาลลดระดับคอเลสเตอรอลและช่วยในการขับถ่าย มาดูตัวอย่างกันเลย

– ผลไม้ที่มีรสหวานน้อย เช่น ส้ม,มะละกอ,ฝรั่ง,แก้วมังกร,ส้มโอ,แตงโม,แคนตาลูป,สับปะรด,กล้วย,แอปเปิ้ล ฯลฯ

4,ประเภทผัก เนื่องจากผักนั้นมีประโยชน์อุดมไปด้วยวิตามิน,ใยอาหารและสารต้านอนุมูลอิสระ อาจเลือกเป็นผักพื้นบ้านที่หาได้ง่ายๆ เช่น ผักคะน้า,ผักกวางตุ้ง,ตำลึง,แครอท,ฟักทอง เป็นต้น

5,ประเภทนม เน้นถวายนมเพื่อเสริมแคลเซียม พบภาวะเสี่ยงกระดูกพรุนเนื่องจากพระสงฆ์จำนวนมากมีแคลเซียมต่ำกว่าคนปกติ 8-10 เท่าจึงแนะนำถวายนมจืด,นมถั่วเหลืองเพื่อเสริมแคลเซียม

 

อาหารถวายพระเพล

อาหารถวายพระเพลที่ควรเลี่ยงในการจัดสำรับภัตตาหารให้พระสงฆ์

อาหารถวายพระเพล ที่จัดในสำรับภัตตาหารหากจัดเตรียมเน้นของมีประโยชน์และไม่ส่งผลเสียให้กับพระสงฆ์ อาหารประเภทที่ควรเลี่ยงให้พระสงฆ์ฉันตามนี้
1.หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง การทำบุญด้วยข้าวสารอาหารแห้ง,อาหารกระป๋องกำลังเป็นที่นิยมในการซื้อมาทำบุญกันมากมาย ผลไม้ของดองก็ไม่ควรนำมาถวายเช่นกัน หากฉันเป็นประจำอาจส่งผลให้เกิดโรคต่างๆตามมามากมาย

2.หลีกเลี่ยงเครื่องปรุงที่มีส่วนผสมของโซเดียมสูง สังคมในอดีตทุกคนช่วยกันเตรียมอาหารโดยจะเลือกอาหารที่ดีตั้งแต่ขั้นตอนการซื้อวัตถุดิบ อาหารที่ปรุงเสร็จก็จะเอาส่วนที่ดีถวายพระก่อน แต่ในปัจจุบันเน้นเรื่องความเร็ว,ความสะดวกจึงใช้รูปแบบการทำบุญตักบาตรด้วยอาหารสำเร็จรูปซึ่งมีส่วนผสมของน้ำปลา,ผงชูรสโซเดียมในปริมาณที่สูงมาก
ยังไงหากนึกหาเมนูไหนไม่ออกอยากดูเมนูเพิ่มเติม คลิ๊ก

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *